วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

ข้อสอบปลายภาค วิชากฎหมายการศึกษา

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา

คำสั่ง  ให้นักศึกษาทำทุกข้อลงในบล็อกของนักศึกษา (เวลา 8.00-11.30 น)

1. ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า  ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ      ศีลธรรม จารีตประเพณีและกฎหมายมีความเกี่ยวข้องกันกัน ดังนี้
                ศีลธรรม เป็นความประพฤติที่ดีที่งามของมนุษย์ทุกๆคนโดยไม่ได้ถูกจำกัดว่า บุคคลผู้นั้นจะมีเชื้อชาติหรือศาสนาอะไร เป็นเรื่องของมโนธรรมหรือจิตสำนึกที่ดีที่งามที่มนุษย์ทุกๆคนควรจะมี ตัวอย่างเช่น ความยุติธรรม ความถูกต้อง ความชอบธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละ ความกตัญญู เป็นต้น
                จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย เช่น แพทย์รักษาคนไข้ ผ่าตัดขาแขน โดยความยินยอมของคนไข้ ย่อมถือว่าไม่มีความผิดเพราะเป็นจารีตประเพณีที่ปฏิบัติต่อกันมา ปฏิบัติโดยชอบตามกติกาหรือเกณฑ์หรือจรรยาบรรณที่กำหนดจึงไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย
                กฎหมาย เป็นสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
                ดังนั้น  ศีลธรรม จารีตประเพณี ศาสนา และกฎหมายเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ และสอดคล้องกับคำกล่าวที่ว่าที่ใดมีสังคมที่นั้นมีกฎหมาย

อนุทินที่ 8 การวิเคราะห์ SWOT

การวิเคราะห์  SWOT

1. ความหมายของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis)
                การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การหรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดจุดอ่อน โอกาส อุปสรรค หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต SWOT  เป็นตัวย่อที่มีความหมายดังนี้
                        (Strengths)   หมายถึงจุดแข็ง  (ข้อได้เปรียบ) องค์การ/ชุมชนจะต้องมีการประเมินจุดแข็งของตนเอง ซึ่งเป็นปัจจัยภายในหรือสิ่งที่องค์การ/ชุมชนมีอยู่เองแล้ว เพื่อพิจารณาเงื่อนไขแห่งความสำเร็จขององค์การในมิติต่างๆ
                        W  (Weaknesses)  หมายถึงจุดอ่อน (ข้อเสียเปรียบ องค์การหรือชุมชนจะต้องมีการประเมินจุดอ่อนของตนเองเพื่อพิจารณาเงื่อนไขแห่งความล้มเหลวขององค์การในมิติต่างๆ โดยประเมินจากระดับสูง (เป็นจุดอ่อนมาก) ไปหาระดับต่ำ (ไม่ค่อยเป็นจุดอ่อน)
                        (Opportunities) หมายถึง โอกาส (ปัจจัยที่จะส่งผลให้สามารถดำเนินการได้) ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก องค์การหรือชุมชนควรจะได้พิจารณาโอกาสของการประสบความสำเร็จขององค์การหรือชุมชนเป็นสำคัญ
                ( Threats ) หมายถึง อุปสรรค (ปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงาน) ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อเป้าประสงค์ขององค์การ ซึ่งพิจารณาอุปสรรคด้านของความรุนแรงและที่อาจจะเกิดขึ้นโดยตรงกับองค์การ/ชุมชนนั้นๆด้วย

วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 7 คำถาม


คำถาม

ตอบคำถามต่อไปนี้ (1-3 พ.ร.บ.ภาคบังคับ, 4 พ.ร.บ.บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ) ลงในบล็อกของนักศึกษา

1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545

ตอบ    เป็นพระราชโองการโปรดเกล้าฯของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งพระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29ประกอบกับมาตรา 35และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลที่ต้องมีการประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 เพราะว่ากฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้บิดา มารดาหรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวน 9 ปีโดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่ 7 เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่ 16 เว้นแต่การสอบได้ชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาภาคบังคับ จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษาเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 6 แบบฝึกหัดทบทวน




แบบฝึกหัดทบทวน

คำสั่ง  เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. นักศึกษาอธิบายคำนิยามต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542
. การศึกษา ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน ค. การศึกษาตลอดชีวิต ง. มาตรฐานการศึกษา
. การประกันคุณภาพภายใน ช. การประกันคุณภาพภายนอก ซ. ผู้สอน ฌ. ครู
. คณาจารย์ ฐ. ผู้บริหารสถานศึกษา ฒ. ผู้บริหารการศึกษา ณ. บุคลากรทางการศึกษา
ตอบ      
                ก.การศึกษา หมายถึงกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลง ความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
                ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
                ค. การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึง การศึกษาที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย
                ง. มาตรฐานการศึกษา หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสาหรับส่งเสริมและกากับดูแล การตรวจสอบ การประเมิน และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
                จ. การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กากับดูแลสถานศึกษานั้น
                ช. การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายนอก โดยสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สานักงานดังกล่าวรองรับ เพื่อเป็นการประกันคุณภาพ และให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา
                ซ. ผู้สอน หมายถึง ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ
                ฌ. ครู หมายถึง บุคลากรวิชาชีพซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
                ญ. คณาจารย์ หมายถึง บุคลากรซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
                ฐ. ผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน
                ฒ. ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
                . บุคลากรทางการศึกษา หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทาหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ

วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 5 วิเคราะห์ข่าวที่เกี่ยวแย้งของพระที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

คำชี้แจง ให้นักศึกษาวิเคราะห์ข่าวเกี่ยวกับการขัดแย้งของพระที่เกิดขึ้นในสภาพปัจจุบัน อาทิ พระธรรมกาย

ยกสุดท้ายธรรมกาย เดิมพันความเชื่อมั่น คสช.
25 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 13:32 น.



            ต้องถือว่าเป็น “ยกสุดท้าย” กับการบุกค้นวัดพระธรรมกายเพื่อติดตามตัว พระเทพญาณมหามุนี หรือธัมมชโย มาดำเนินคดีรอบนี้​ ​ซึ่งรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ส่งสัญญาณ เอาจริงหวัง “ปิดเกม” ให้ได้โดยเร็ว หลังจากดึงเกมยื้อมานานพอสมควร

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 4 แบบฝึกหัดทบทวน 2

แบบฝึกหัดทบทวน 2

คำสั่ง  ให้นักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้วจงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1.ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกและมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ       ผู้ที่ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ คณะราษฎร์ เหตุผลผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกแห่งราชอาณาจักรสยาม คณะราษฎร์ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า  “บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบาย สามารถนำประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาสให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ได้มีส่วนร่วมตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลง  ประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า”
              ส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา คือ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา 14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 3 วิเคราะห์ข่าวเกี่ยวกับกฎหมายการศึกษา


วิเคราะห์ข่าวเกี่ยวกับกฎหมายการศึกษา
ครูโหด! ใช้ไม้ขนไก่ตีหัวเด็กนักเรียนจนเลือดอาบ

             


แม่เดือด! บุกแจ้งความร้องขอความเป็นธรรม ครูโหดใช้ไม้ขนไก่ตีศีรษะลูกชายจนเลือดอาบ
             เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 57 เวลา 07.00 น. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า มีเด็กวัย 9 ขวบ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดศรีมงคล ต.หาดอาษา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ถูกครูตีศีรษะจนแตกเลือดอาบใบหน้า ผู้สื่อข่าวจึงเดินทางไปที่บ้านพักย่าน ต.หาดอาษา อ.สรรพยา ที่เป็นบ้านของนางเบญญาภา ชุ่มชวย อายุ 43 ปี แต่ไม่ทันได้พบ เพราะคนในบ้านบอกว่าพา ด.ช.หนุ่ม (นามสมมติ) ไปหาหมอที่ รพ.สรรพยา ผู้สื่อข่าวจึงตามไปที่โรงพยาบาล พบนางเบญญาภาและ ด.ช.หนุ่ม ที่ถูกครูลงโทษด้วยไม้ขนไก่ตีศีรษะ แถมยังตบหลังอีก 1 ที กำลังนั่งรอให้แพทย์ตรวจอาการ ซึ่งขณะนั้นพบว่ามีอาการปวดศีรษะ