วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 8 การวิเคราะห์ SWOT

การวิเคราะห์  SWOT

1. ความหมายของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis)
                การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การหรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดจุดอ่อน โอกาส อุปสรรค หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต SWOT  เป็นตัวย่อที่มีความหมายดังนี้
                        (Strengths)   หมายถึงจุดแข็ง  (ข้อได้เปรียบ) องค์การ/ชุมชนจะต้องมีการประเมินจุดแข็งของตนเอง ซึ่งเป็นปัจจัยภายในหรือสิ่งที่องค์การ/ชุมชนมีอยู่เองแล้ว เพื่อพิจารณาเงื่อนไขแห่งความสำเร็จขององค์การในมิติต่างๆ
                        W  (Weaknesses)  หมายถึงจุดอ่อน (ข้อเสียเปรียบ องค์การหรือชุมชนจะต้องมีการประเมินจุดอ่อนของตนเองเพื่อพิจารณาเงื่อนไขแห่งความล้มเหลวขององค์การในมิติต่างๆ โดยประเมินจากระดับสูง (เป็นจุดอ่อนมาก) ไปหาระดับต่ำ (ไม่ค่อยเป็นจุดอ่อน)
                        (Opportunities) หมายถึง โอกาส (ปัจจัยที่จะส่งผลให้สามารถดำเนินการได้) ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก องค์การหรือชุมชนควรจะได้พิจารณาโอกาสของการประสบความสำเร็จขององค์การหรือชุมชนเป็นสำคัญ
                ( Threats ) หมายถึง อุปสรรค (ปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงาน) ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อเป้าประสงค์ขององค์การ ซึ่งพิจารณาอุปสรรคด้านของความรุนแรงและที่อาจจะเกิดขึ้นโดยตรงกับองค์การ/ชุมชนนั้นๆด้วย

2. หลักการสำคัญของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 
                หลักการสำคัญ คือ  การวิเคราะห์โดยการสำรวจจากสภาพการณ์ 2 ด้าน คือ สภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอก ดังนั้นการวิเคราะห์ SWOT จึงเรียกได้ว่าเป็นการวิเคราะห์สภาพการณ์ (Situation Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรารู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขาชัดเจนและวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค  ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารของสถานศึกษาทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นภายนอกสถานศึกษาทั้งปัจจุบันและอนาคต ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินตามกลยุทธ์ของสถานศึกษาระดับสถานศึกษาที่เหมาะสมต่อไป

3. ประโยชน์ของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
                การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของสถานศึกษาอย่างไร จุดแข็งของสถานศึกษาจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ในขณะที่จุดอ่อนของสถานศึกษาจะเป็นคุณลักษณะภายในที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายสถานศึกษา อุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา  และผลจากการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมเพื่อใช้ในการพัฒนาต่อไป

4. ขั้นตอน / วิธีการดำเนินการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
                การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม จะครอบคลุมขอบเขตของปัจจัยที่กว้างด้วยการระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคของสถานศึกษา ทำให้มีข้อมูลในการกำหนดทิศทางหรือเป้าหมายที่จะถูกสร้างขึ้นมาบนจุดแข็งของสถานศึกษาและแสวงหาประโยชน์จากโอกาสทางสภาพแวดล้อม และสามารถกำหนดกลยุทธ์ที่มุ่งเอาชนะอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมหรือลดจุดอ่อนของสถานศึกษาให้มีน้อยที่สุดได้ โดยมีขั้นตอน ดังนี้
                4.1) การประเมินสภาพแวดล้อมภายใน  (S , W)
                จะเกี่ยวกับการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในสถานศึกษาทุกๆด้าน เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของสถานศึกษาแหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อ การบริหารที่ครอบคลุมทุกด้านทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของสถานศึกษาด้วย
                - จุดแข็งของสถานศึกษา (S-Strengths)  เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในสถานศึกษานั้นเองว่า ปัจจัยใดภายในสถานศึกษาที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นของสถานศึกษาที่สถานศึกษาควรนำมาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาได้ และควรดำรงไว้เพื่อการเสริมสร้างความเข็มแข็งของสถานศึกษา
                - จุดอ่อนของสถานศึกษา (W-Weanesses) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจากมุมมอง ของผู้ที่อยู่ภายในสถานศึกษานั้นๆเองว่าปัจจัยภายในสถานศึกษาที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบของสถานศึกษาที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไปอันจะเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษา
                4.2) การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก  (O , T)
                โดยพิจารณาโอกาสและอุปสรรคทางการดำเนินงานขององค์กรที่จะได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมดังนี้
·     สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานศึกษา เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ
·     สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ระดับการศึกษาและอัตรารู้หนังสือของประชาชน การตั้งถิ่นฐานและการอพยพของ ประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม
·     สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา มติคณะรัฐมนตรี
                     สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึง กรรมวิธีใหม่ๆและพัฒนาการทางด้านเครื่องมืออุปกรณ์ที่จะ                                   ช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพในการผลิตและให้บริการ
·     สถานะสุขภาพ อัตราการป่วย/ตายด้วยโรคและภัยสุขภาพของประชากร พฤติกรรมทาง สุขภาพ รวมถึงระบบสุขภาพ
·     สภาพแวดล้อมทาง สิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิอากาศ ระบบนิเวศ ผลกระทบจากการเกษตร อุตสาหกรรม เป็นต้น
                - โอกาสทางสภาพแวดล้อม(O-Opportunities)  เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกสถานศึกษา ปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินการของสถานศึกษาในระดับมหาภาค และสถานศึกษาสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้หน่วยงานเข็มแข็งขึ้นได้
                - อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม(T-Threats)  เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกสถานศึกษาปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบในระดับมหภาคในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม
                4.3) ระบุสถานการณ์จากการประเมินสภาพแวดล้อม
                เมื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับจุดแข็ง-จุดอ่อน โอกาส-อุปสรรคจากการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกด้วยการประเมินสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกแล้ว ให้นำจุดแข็ง-จุดอ่อนภายในมาเปรียบเทียบกับ โอกาส-อุปสรรค จากภายนอกเพื่อดูว่าองค์กร กำลังเผชิญสถานการณ์เช่นใดและภายใต้สถานการณ์เช่นนั้น องค์กรควรจะทำอย่างไร โดยทั่วไปในการวิเคราะห์ SWOT ดังกล่าวนี้ องค์กร จะอยู่ในสถานการณ์ 4 รูปแบบดังนี้ 
                ก. สถานการณ์ที่ 1 (จุดแข็ง-โอกาส) สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่พึ่งปรารถนาที่สุด เนื่องจากองค์กรค่อนข้างจะมีหลายอย่าง ดังนั้น ผู้บริหารขององค์กรควรกำหนดกลยุทธ์ในเชิงรุก (Aggressive - strategy) เพื่อดึงเอาจุดแข็งที่มีอยู่มาเสริมสร้างและปรับใช้และฉกฉวยโอกาสต่างๆที่เปิดมาหาประโยชน์อย่างเต็มที่  
                ข. สถานการณ์ที่ 2 (จุดอ่อน-ภัยอุปสรรค)  สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เนื่องจากองค์กรกำลังเผชิญอยู่กับอุปสรรคจากภายนอกและมีปัญหาจุดอ่อนภายในหลายประการ ดังนั้น ทางเลือกที่ดีที่สุด คือ กลยุทธ์ การตั้งรับหรือป้องกันตัว (Defensive strategy) เพื่อพยายามลดหรือหลบหลีกภัยอุปสรรค ต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตลอดจนหามาตรการที่จะทำให้องค์กรเกิดความสูญเสียที่น้อยที่สุด    
                ค. สถานการณ์ที่ 3 (จุดอ่อน-โอกาส) สถานการณ์องค์กรมีโอกาสเป็นข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันอยู่หลายประการ แต่ติดขัดอยู่ตรงที่มีปัญหาอุปสรรคที่เป็นจุดอ่อนอยู่ หลายอย่างเช่นกัน ดังนั้น ทางออก คือ กลยุทธ์การพลิกตัว (Turnaround-oriented strategy) เพื่อจัดหรือแก้ไขจุดอ่อนภายในต่างๆ ให้ พร้อมที่จะฉกฉวยโอกาสต่างๆที่เปิดให้  
                ง. สถานการณ์ที่ 4 (จุดแข็ง-อุปสรรค) สถานการณ์นี้เกิดขึ้นจากการที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงาน แต่ตัวองค์กรมีข้อได้เปรียบที่เป็นจุดแข็งหลายประการ ดังนั้นแทนที่จะรอจนกระทั่งสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถที่จะเลือกกลยุทธ์การแตกตัว หรือ ขยายขอบข่ายกิจการ (Diversification Strategy) เพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็งที่มีสร้างโอกาสในระยะยาวด้านอื่นๆแทน

5. ข้อพิจารณาในการวิเคราะห์ SWOT  
                5.1) ควรวิเคราะห์แยกแยะควรทำอย่างลึกซึ้ง อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ เพื่อให้ได้ปัจจัยที่มีความสำคัญจริงๆ เป็นสาเหตุหลักๆของปัญหาที่แท้จริง
                5.2) การกำหนดปัจจัยต่างๆ ไม่ควรกำหนดของเขตของความหมายของปัจจัยต่างๆไม่ว่าจะเป็นจุดอ่อน(W)หรือจุดแข็ง (S) หรือโอกาส (O) หรืออุปสรรค (T) ให้มีความหมายคาบเกี่ยวกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตัดสินใจ และชี้ชัดว่าปัจจัยที่กำหนดขึ้นมานั้นเป็นปัจจัยในกลุ่มใด

6. ตัวอย่างของ(SWOT Analysis)
วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรคของตนเองต่อวิชาที่เรียน
จุดแข็ง (S)
1.เวลาอาจารย์สอน จะคิดตามสิ่งที่อาจารย์พูด
2.มาเรียนตรงเวลา
3.เตรียมเอกสาร เนื้อหาก่อนมาเรียน
4.มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในห้องเรียน ทำให้มีมุมมองใหม่ๆ
5.มีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการทำกิจกรรมในห้องเรียน
6.รับผิดชอบงานที่อาจารย์สั่ง
จุดอ่อน (w)
1.ยึดติดในความคิดของตัวเองมากเกินไป
2.ขี้เกียจ และ ผัดวันประกันพรุ่ง
3.ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ลังเลใจ
4.สะเพร่า
5.เรียนหรืออ่านอะไรไปแล้วถ้าไม่ทบทวนจะลืม
6.ความรู้ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับปานกลาง ทำให้บางครั้งไม่เข้าในเนื้อหาวิชาและการนำไปวิเคราะห์
7.ไม่อ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอ
โอกาส (o)
1.สามารถนำทฤษฎีที่เรียนมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
2.ในการเรียนวิชานี้สามารถนำความรู้และทฤษฎีมาวิเคราะห์ข่าว โฆษณาและเพลงได้
3.อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนและเน้นย้ำสิ่งที่สำคัญเสมอ
4.สามารถถามอาจารย์ในสิ่งที่ไม่เข้าและอาจารย์จะตอบคำถามให้อีกครั้งอย่างชัดเจน
5.มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับผู้อื่นในกลุ่ม
6.ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษ ในการแปล และศัพท์ใหม่ๆ
อุปสรรค (T)
1.จำความหมายศัพท์เฉพาะบางตัวไม่ได้
2.มีกิจกรรมระหว่างเรียนทำให้เนื้อหาที่เรียนไม่ต่อเนื่องกันทำให้บางครั้งลืมเนื้อหาที่เรียน
3.ไม่เข้าใจในวิธีการนำทฤษฎีบางตัวไปใช้
4.ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจบทเรียนเป็นเวลานาน ทำให้ไม่ทันเพื่อน

ตัวอย่าง SWOT ANALYSIS ตัวเอง
จุดแข็ง(S)
1.มีความเป็นเพื่อนให้ทุกคนอย่างไม่เลือก
2.ตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจน มีจุดยืนที่มั่นคง
3.ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ไม่เคยดับมอด
4.เด็ดเดี่ยว ไม่ท้อแท้
5.กล้าได้กล้าเสีย แก้ปัญหาเก่ง ไม่ตื่นตกใจง่าย
6.รู้จักกาลเทศะ
7.สร้างจุดสนใจได้ดีเสมอ สร้างความประทับใจให้กับทุกคน
8.สุขุมเยือกเย็น ไม่เคยทำอะไรสะเพร่า
จุดอ่อน(W)
1.ต่อต้านกฎเกณฑ์อย่างจริงจัง จนบางครั้งก้าวร้าว
2.ไม่ลงให้ใครง่ายๆ
3.ไม่แสดงความคิดเห็นของตน แต่เก็บเกี่ยวความคิดของผู้อื่น
4.ชอบเสี่ยง ทั้งที่ไม่มีความมั่นใจเลย
5.ไม่ทนกับคนที่ตนคิดว่าไรสาระ
6.ไม่ชอบแสดงออกทางอารมณ์ แม้แต่จะทำสิ่งที่ดีๆให้กับคนที่ตนรัก
7.คาดหวังสูงกับความเป็นคนมีเสน่ห์และเป็นที่ยอมรับของคนรอบข้าง
8.ชอบคิด ชอบวางแผน แต่ไม่ชอบลงมือทำ
โอกาส(O)
1.ได้เรียนสูงขึ้น
2.รู้จักรุ่นพี่ที่ทำงานด้านที่เราศึกษาอยู่
3.เคยทำงานร่วมกับสังคม
4.เคยทำงานหนักจนทำให้เรารู้จักสู้กับชีวิต
5.ครอบครัวมีฐานะทำให้เรามีโอกาสในด้านการศึกษาเพิ่มขึ้น
อุปสรรค(T)
1. เก็บคำพูดของคนอื่นมาคิดมากจนทำให้รู้สึกขาดความมั่นใจเหมือนมีปมด้อย












อ้างอิง

เพ็ญทิวา เพ็ญทิวา สารบุต.  (2558)SWOT Analysis คือ อะไร(ออนไลน์)สืบค้นจาก: https://www.gotoknow. org/posts/5965[28 มีนาคม 2560].
วรพล หนูนุ่น.  (2558)การวิเคราะห์ตนเองของนักศึกษา (ออนไลน์)สืบค้นจาก:  https://www.gotoknow. org/posts/433928[28 มีนาคม 2560].


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น