คำถาม
ตอบคำถามต่อไปนี้ (1-3 พ.ร.บ.ภาคบังคับ, 4 พ.ร.บ.บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ)
ลงในบล็อกของนักศึกษา
1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
ตอบ เป็นพระราชโองการโปรดเกล้าฯของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ซึ่งพระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา 29ประกอบกับมาตรา 35และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลที่ต้องมีการประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ
พ.ศ. 2545 เพราะว่ากฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้บิดา
มารดาหรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวน
9 ปีโดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่ 7
เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่ 16 เว้นแต่การสอบได้ชั้นปีที่
9 ของการศึกษาภาคบังคับ จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษาเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
2.ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
อย่างไร
ก. ผู้ปกครอง ข.เด็ก ค.การศึกษาภาคบังคับ ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตอบ ก. ผู้ปกครอง หมายถึง บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา
ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจการปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับการใช้งาน
ข.เด็ก หมายความว่า เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก
เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
ค.การศึกษาภาคบังคับ
หมายความว่า
การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
ง.
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายความว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด
3. กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษอย่างไร
และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน
ตอบ กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษคือ
มาตรา 13
ผู้ปกครองที่ไม่ส่งเด็กเข้าเรียนตามที่กฎหมายกำหนดจะต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
มาตรา 15 ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร
กระทำด้วยประการใดๆอันเป็นเหตุให้เด็กมิได้เรียนในสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติ
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ดังนั้นถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษา ผู้ปกครองจะต้องร้องขอให้สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันเด็กเข้าเรียนก่อนและหลังตามอายุเกณฑ์ตามการศึกษาภาคบังคับได้
4. ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ตอบ
ประเด็นที่ได้สรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
เหตุผลที่ใช้กฎกระทรวงฉบับนี้เพราะมาจากการสรรหาและการเลือกประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎกระทรวงกำหนดจำนวนกรรมการ
คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาการเลือกประธานกรรมการและกรรมการ
วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ.2546 ยังไม่สอดคล้องกับหลักความรับผิดชอบและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาการเลือกประธานกรรมการและกรรมการ
ข้อ 2 ในกฎกระทรวงนี้ได้ให้คำนิยามของ กรรมการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ องค์กรเอกชน
ข้อ 3 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีกรรมการไม่เกิน 27
คนซึ่งประกอบไปด้วย
1.ประธานกกรมการ
2. กรรมการโดยตำแหน่ง
9 คน คือ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา
เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
และผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
3. กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรเอกชน 1 คน
4.
กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 คน
5.
กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 คน
6.
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เกิน 13 คน
7.
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นกรรมการและเลขานุการ
ข้อ 4 ประธานกรรมการและกรรมการตามข้อ 3(3) (4) (5)และ (6)
ต้องมีคุณสมบัติ คือ สัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์
ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถ ไม่เคยเสียประวัติเสื่อมเสียทางจริยธรรมและการประกอบวิชาชีพ
ไม่เคยจำคุกเว้นแต่โทษความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ไม่เป็นคู่สัญญาได้เสียหรือมีผลประโยชน์โดยตรงในกิจการที่เกี่ยวข้องกรรมสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ไม่เป็นประธานนกกรมการหรือกรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา คณะกรรมการการอุดมศึกษา
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา คณะกรรมการข้าราชการครู คณะกรรมการคุรุสภา
หรือคณะกรรมการหรือบุคลากรทางการศึกษาเกินกว่าหนึ่งคณะ
ข้อ 5 การสรรหาและเลือกประธานกรรมการตามข้อ 3 (3) (4) (4) (5)และ (6)มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1.
สรรหาและเลือกผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้แทนองค์กรวิชาชีพโดยองค์กรเอกชนดำเนินงานไม่น้อยกว่า
2 ปี
ซึ่งสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและองค์กรวิชาชีพเสนอชื่อผู้เห็นสมควรที่จะเป็นกรรมการและต้องมีคุณสมบัติตามข้อ
4
2.
การสรรหาและเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกแห่งเสนอชื่อมาและต้องมีคุณสมบัติตามข้อสี่
แห่งละ 1 คน และให้พระมหาเถรสมาคมเสนอชื่อภิกษุที่เก่งทางด้านพระพุทธศาสนา 1 รูป
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้ง
2 คนร่วมสรรหาผู้ที่มีความสามารถตามข้อ 3(6)และมีคุณสมบัติตามข้อ 4
3.
การสรรหาและเลือกประธานกรรมการ
โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเลือกประธานกรรมการ
ข้อ 6 หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหาและเลือกประธานกรรมการและกรรมการให้เป็นไปตามกฎกระทรวงและประกาศของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข้อ 7 ประธานกรรมการและกรรมการตามข้อ 3(3) (4) (5)และ (6)
มีวาระคราวละ 4ปี
ข้อ 8 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งวาระ ประธานกรรมการและกรรมการตามข้อ 3 (3)
(4) (5)และ (6) พ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก คณะรัฐมนตรีให้ออก ขาดคุณสมบัติตามข้อ
4 และพ้นจากการเป็นพระภิกษุ
ข้อ 9 ถ้าประธานกรรมการหรือกรรมการตามข้อ 3(3) (4) (5)และ(6) พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
ให้สรรหา เลือกและแต่งตั้งประธรมกรรมการหรือกรรมการแทนภายใน 10 วันนับตั้งแต่วันนี้ผู้นั้นพ้นตำแหน่ง
ข้อ 10 ในวาระเริ่มแรกให้ดำเนินการการสรรหา เลือก
และแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตามข้อ 3(3) (4) (5)และ (6) ให้เสร็จแล้วภายใน
180 วันนับตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น