วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

ข้อสอบปลายภาค วิชากฎหมายการศึกษา

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา

คำสั่ง  ให้นักศึกษาทำทุกข้อลงในบล็อกของนักศึกษา (เวลา 8.00-11.30 น)

1. ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า  ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ      ศีลธรรม จารีตประเพณีและกฎหมายมีความเกี่ยวข้องกันกัน ดังนี้
                ศีลธรรม เป็นความประพฤติที่ดีที่งามของมนุษย์ทุกๆคนโดยไม่ได้ถูกจำกัดว่า บุคคลผู้นั้นจะมีเชื้อชาติหรือศาสนาอะไร เป็นเรื่องของมโนธรรมหรือจิตสำนึกที่ดีที่งามที่มนุษย์ทุกๆคนควรจะมี ตัวอย่างเช่น ความยุติธรรม ความถูกต้อง ความชอบธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละ ความกตัญญู เป็นต้น
                จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย เช่น แพทย์รักษาคนไข้ ผ่าตัดขาแขน โดยความยินยอมของคนไข้ ย่อมถือว่าไม่มีความผิดเพราะเป็นจารีตประเพณีที่ปฏิบัติต่อกันมา ปฏิบัติโดยชอบตามกติกาหรือเกณฑ์หรือจรรยาบรรณที่กำหนดจึงไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย
                กฎหมาย เป็นสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
                ดังนั้น  ศีลธรรม จารีตประเพณี ศาสนา และกฎหมายเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ และสอดคล้องกับคำกล่าวที่ว่าที่ใดมีสังคมที่นั้นมีกฎหมาย


2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร  มีการจัดอย่างไร  โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่ง คสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง (5 คะแนน)
ตอบ       “ศักดิ์ของกฎหมาย”  เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมาย หรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกันโดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย โดยใช้เหตุผลที่ว่า
1. การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน
2. การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจาเป็นของสังคม
3. ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น
โดยมีลำดับการจัดศักดิ์ของกฎหมาย ดังนี้
                1. รัฐธรรมนูญ  เป็นกฎหมายสูงสุดและเป็นหลักที่ให้หลักประกันแก่ประชาชน หากมีกฎหมายใดออกมาขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญมิได้ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550  แต่ถ้าให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญคำสั่งคณะปฏิวัติย่อมมีศักดิ์เท่ากับรัฐธรรมนูญ 
                2. พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติโดยความเห็นชอบของรัฐสภา ที่เป็นตัวแทนของประชาชน และพระมหากษัตริย์ได้ลงพระปรมาภิไธยใช้บังคับเป็นกฎหมาย เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายที่ดิน ประมวลกฎหมายรัษฎากร
                3. พระราชกำหนด  เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญและทรงตราขึ้นตามคาแนะนำของคณะรัฐมนตรีเฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษ กรณีเร่งด่วนหรือภาวะฉุกเฉินในการรักษาความปลอดภัย ความมั่นคงหรือรักษาผลประโยชน์ของประเทศ เช่น คำสั่ง คสช.
                4. พระบรมราชโองการให้บังคับใช้ เช่นพระราชบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ได้มอบอำนาจให้พระมหากษัตริย์ทรงออกกฎหมายในรูปพระบรมราชโอการได้ แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับ ก่อนๆให้พระราชอำนาจไว้  ใช้ในยามที่มีสถานะสงครามหรือในภาวะคับขัน อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติและการใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภาอาจขัดข้องหรือไม่เหมาะสมกับสถานการณ์
                5. พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีหรือเป็นกฎหมายอื่นที่ฝ่ายบริหารได้ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย และพระราชกฤษฎีกาจึงมีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด และประกาศพระบรมราชโองการและจะขัดกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าไม่ได้ เช่น พระราชกฤษฎีกาเปิดหรือปิดสมัยประชุมสภา พระราชกฤษฎีกายุบสภา
                6. กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดเป็นผู้ออก เพื่อให้การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายหลักในเรื่องนั้นๆ เป็นการออกกฎกระทรวงโดยฝ่ายบริหาร เช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกา ต่างกับพระราชกฤษฎีกาตรงที่ว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าสำคัญรองลงมา ก็จะออกเป็นกฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่ออกตามกฎหมายแม่บท นอกจากกฎกระทรวง
                7. เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติเทศบาล การแบ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็น 3 ระดับคือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมืองและเทศบาลนคร ซึ่งอาศัยความหนาแน่นของประชากรตามที่พระราชบัญญัติกำหนด
                 
3. แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้
                ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า



"วันนี้...ลูกชายวัย 6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป" จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้  ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้ (5 คะแนน)
ตอบ       ครูที่โรงเรียนใช้ความรุนแรงในการลงโทษเด็กชายวัย 6 ขวบอย่างเกินเหตุ ครูไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ขาดความยับยั้งชั่งใจในการลงโทษเด็ก ครูมีความโมโห ขาดความอดทนและใช้กำลังทำร้ายเด็กจนเด็กได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย ที่สำคัญการลงโทษของครูคนนี้เป็นการทำร้ายจิตใจเด็กเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจจะส่งผลให้เด็กเด็กซึมซับเอาพฤติกรรมเหล่านี้มาจนกลายเป็นคนมีนิสัยเป็น นักเลง ก้าวร้าว  โมโหร้ายและเป็นเด็กที่เก็บกด
                จากการลงโทษของครูคนนี้เป็นการลงโทษเด็กที่ไม่สมควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง ครูควรมีความอดทนอดกลั้น ต้องควบคุมอารมณ์ร้อนของตนเองได้เพื่อไม่ลงที่เด็ก ครูควรเข้าใจความแตกต่างในการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนว่าเขาเกิดในครอบครัวที่ต่างกัน เขาก็ล้วนมีความแตกต่างกันอย่างแน่นอนในประเด็นของการเรียน ครูไม่ควรลงโทษเด็กโดยการตีหรือทำร้ายเด็กด้วยวิธีใดๆก็ตาม แต่ต้องหาวิธีการที่จะพัฒนาการอ่านของเด็กหรือเปลี่ยนวิธีการสอนของตนเอง
                ในฐานะที่ดิฉันเป็นนักศึกษาครูและจะไปเป็นครูในอนาคต ดิฉันคิดว่าครูคือผู้สร้าง ผู้ให้ ฉะนั้นแล้วครูควรมีความอดทน มีความเมตตาและมีจรรยาบรรณความเป็นครู ถ้าหากครูคนใดที่ประพฤติผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อปฏิบัติทางวินัยจึงต้องได้รับโทษทางวินัยที่ระบุไว้ในมาตรา 96 ซึ่งต้องโทษลาออก

4. ให้นักศึกษา สวอท. ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ       วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรคของตนเองด้านการเรียน มีดังนี้
จุดแข็ง (S)
1. เวลาอาจารย์สอน จะตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์สอนและจดบันทึกเนื้อหาไปด้วย
2. มาเรียนตรงเวลา
3. เตรียมเอกสาร หนังสือ  อุปกรณ์การเรียน และโน๊ตบุ๊กก่อนมาเรียน
4. มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในห้องเรียน เมื่อมีข้อสงสัยจะถามเพื่อนและอาจารย์ผู้สอน
5. รับผิดชอบงานที่อาจารย์สั่ง ทำงานเรียนร้อยและส่งงานตามเวลาที่กำหนด
จุดอ่อน (w)
1. เป็นคนที่ค่อนข้างเข้าใจอะไรยาก
2.บางครั้งก็ขี้เกียจ และผัดวันประกันพรุ่ง จึงทำให้นอนดึก เวลามาเรียนในห้องก็ทำให้รู้สึกง่วง
3. เป็นคนตัดสินใจไม่เด็ดขาด ลังเลใจ
4. เป็นคนขี้เกียจอ่านหนังสือ เช่น เวลาจะสอบวันพรุ่งนี้ก็จะอ่านหนังสือวันนี้
โอกาส (o)
1.สามารถนำทฤษฎี สิ่งที่ได้เรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
2. อาจารย์อธิบายเนื้อหาและมีการยกตัวอย่างได้ชัดเจน
3. เมื่อเราเรียนไม่เข้าใจก็สามารถถามคำถามอาจารย์ได้
4. มีประสบการณ์การทำงานหลายรูปแบบ เช่น งานเดี่ยว งานคู่และงานกลุ่ม
5.ได้เรียนรู้เทคนิคการเรียนให้เข้าใจและได้เรียนรู้ในเนื้อหานั้นๆ
6. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับและใช้กับสาขาอื่นๆและนำไปถ่ายทอดให้คนอื่นได้
อุปสรรค (T)
1.มีงานที่ต้องทำส่งอาจารย์เยอะ เลยต้องแบ่งเวลาในการทำงานและเรียนอย่างเหมาะสม
2.มีกิจกรรมที่ไม่น่าสนใจ จึงไม่ดึงดูดความสนใจในการเรียน
3.ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจบทเรียนบางเรียนเป็นเวลานาน เพราะเนื้อหามีความซับซ้อนจึงทำให้เรียนช้าเพื่อนคนอื่นๆ

5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย (5 คะแนน)
ตอบ       อาจารย์ผู้สอน คือ อารจารย์อภิชาต  วัชรพันธ์             
ข้อดี คือ
                1. ท่านเป็นอาจารย์เข้าใจนักศึกษาทุกคน ถามสารทุกข์สุกดิบของนักศึกษา เมื่อนักศึกษามีปัญหาท่านให้คำแนะนำอย่างเต็มที่
                2. ท่านเป็นอาจารย์ที่มีความอดทน เมตตา ใจดีกับนักศึกษาทุกคน
                3. ท่านเป็นอาจารย์ที่ใช้วิธีการสอนที่ช่วยพัฒนาการเรียนของผู้เรียนได้จริง เป็นวิธีการสอนที่ให้ผู้เรียนไปศึกษาหาความรู้มาเอง นำความรู้นั้นมาประมวลและโพสต์ลงในบล็อกของตัวเอง
                4. ท่านเป็นอาจารย์ที่น่ารัก เก่ง ชอบเล่าประสบการณ์ดีๆทั้งหลายของท่านให้นักศึกษาได้ฟัง
                5. ในระหว่างที่ท่านสอนอยู่ ท่านจะใช้คำพูดที่อ่อนโยน สุภาพและทำให้นักศึกษารู้สึกเป็นกันเองกับนักศึกษา
                6. เวลาท่านสอน ท่านพูดตลก มีมุขขำๆ ทำให้บรรยากาศในชั้นเรียนน่าเรียน ไม่สร้างความเคร่งเครียดให้กับนักศึกษาที่มาเรียน
                7. ท่านมีการเชิญวิทยากรจากที่อื่นมาบรรยายเรื่อง การวิเคราะห์ SWOT ให้นักเรียนฟังซึ่งถือเป็นการบรรยายที่ได้ความรู้เป็นอย่างมาก นักศึกษาสามารถนำเรื่องที่ได้จากการบรรยายมาใช้ในการสอบปลายภาคและนำไปปรับใช้ในอนาคตได้
ส่วนข้อเสีย คือ
                1. ในการเรียนการสอนแต่ละครั้งนักศึกษาจะต้องเอาโน๊ตบุ๊กมาใช้ในการประกอบในการเรียนด้วย บางครั้งไม่สามรถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ ทำให้การเรียนเป็นไปอย่างล่าช้า
                2. ในการเรียนบางครั้งอาจารย์สอนเนื้อหามากเกินไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเนื้อหาที่อาจารย์สอนหรือ      โพสต์ลงบล็อกก็ล้วนเป็นเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ในการเรียนในรายวิชากฎหมายและการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งสิ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น