แบบฝึกหัดทบทวน
คำสั่ง เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. นักศึกษาอธิบายคำนิยามต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ก. การศึกษา ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน ค. การศึกษาตลอดชีวิต ง.
มาตรฐานการศึกษา
จ. การประกันคุณภาพภายใน
ช. การประกันคุณภาพภายนอก ซ. ผู้สอน ฌ.
ครู
ญ. คณาจารย์ ฐ. ผู้บริหารสถานศึกษา ฒ. ผู้บริหารการศึกษา ณ. บุคลากรทางการศึกษา
ตอบ
ก.การศึกษา หมายถึงกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้
การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลง ความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม
สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
ค. การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึง การศึกษาที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
โดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย
ง. มาตรฐานการศึกษา หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง
และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสาหรับส่งเสริมและกากับดูแล การตรวจสอบ การประเมิน
และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
จ. การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายใน
โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กากับดูแลสถานศึกษานั้น
ช. การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายนอก
โดยสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สานักงานดังกล่าวรองรับ
เพื่อเป็นการประกันคุณภาพ และให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา
ซ. ผู้สอน หมายถึง ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ
ฌ. ครู หมายถึง บุคลากรวิชาชีพซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ
ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
ญ. คณาจารย์ หมายถึง บุคลากรซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
ฐ. ผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน
ฒ. ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
ณ. บุคลากรทางการศึกษา หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทาหน้าที่ให้บริการ
หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ
2. ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษานี้อย่างไรบ้างให้อธิบาย
ตอบ ความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา (มาตรา 6) คือการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม
หลักการจัดการศึกษา คือ มี 3 ประการคือ (มาตรา 8)
1. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสาหรับประชาชน
2. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3. การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
3. หลักการจัดการศึกษาประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ หลักการจัดการศึกษา คือ มี 3 ประการคือ (มาตรา 8)
1. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสาหรับประชาชน
2. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3. การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
4. การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กฎหมายกำหนดมีอะไรบ้าง
ตอบ
การจัดระบบ โครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(มาตรา 9)
1. มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
2. มีการกระจายอำนาจ ไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา
สถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
4. มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู
คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
5. ระดมทรัพยากร จากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
6. การมีส่วนร่วม ของบุคคล ครอบครัว
ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา ที่กำหนดไว้ในกฎหมายมีอะไรบ้าง
ตอบ สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษามีสาระสำคัญของหมวดนี้
มีดังนี้ (มาตรา 10-14)
1. การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อย กว่า 12 ปี อย่างทั่วถึง
(Education for all) มีคุณภาพ (Educational Quaality) และไม่เก็บค่าใช้จ่าย (Free Education)
2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์สังคม ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีความสามารถพิเศษ
มีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
3. พ่อแม่ ผู้ปกครอง บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน สถานประกอบการ สถาบันศาสนาและสถาบันอื่นๆ
มีสิทธิจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่บุตรหลานของตนหรือบุคคลทั่วไป ผู้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวมีสิทธิได้รับการสนับสนุนและเงินอุดหนุนจากรัฐ
รวมทั้งได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษี ตามที่กฎหมายกำ
6. ระบบการศึกษามีกี่รูปแบบแต่ละรูปแบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ระบบการศึกษา (มาตรา 15-21) มีดังนี้
1. การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ
การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดการศึกษาได้
3 รูปแบบหรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งทั้ง 3 รูปแบบนี้สามารถเทียบโอนกันได้
2. การจัดการศึกษาแบ่งเป็น 2 ระดับคือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
การศึกษาระดับอุดมศึกษา สาหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะเรียกชื่อเป็นประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย หรืออย่างอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง การศึกษาระดับอุดมศึกษา มี
2 ระดับคือ ระดับปริญญาและต่ำกว่าปริญญา
3. การศึกษาภาคบังคับมีกำหนด 9 ปี เด็กอายุ 6 ขวบต้องเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงอายุ 15 ขวบ เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาภาคบังคับ หลักเกณฑ์การนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
4. การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้จัดในสถานศึกษา 3 ประเภทคือ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียนและศูนย์การเรียน
5. การอาชีวศึกษาให้จัดในสถานศึกษาของรัฐและเอกชนรวมทั้งสถานประกอบการและองค์กรหรือหน่วยงานอื่น
ตามกฎหมายว่าด้วยอาชีวศึกษา
6. กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ อาจจัดการศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการและความชำนาญของหน่วยงาน
โดยคำนึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติ ทั้งนี้ ตามทหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
7. การจัดการศึกษาในระบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ การศึกษาในระบบ
เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตรระยะเวลา
ของการศึกษา การวัดและการประเมินผล
ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน การศึกษาในระบบมี 2 ระดับคือ
1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน (ตั้งแต่ อนุบาล - ม.6, ปวช.)
2. การศึกษาระดับอุดมศึกษา (ตั้งแต่ ปวส., อนุปริญญา
- ปริญญา)
การศึกษาในระบบมีสองระดับคือ
การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา
1. การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย
การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา
การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การศึกษาในระบบที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งเป็นสามระดับ ได้แก่ การศึกษาก่อนระดับประถมศึกษา
เป็นการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีอายุ 3 – 6 ปี
การศึกษาระดับประถมศึกษาโดยปกติใช้เวลาเรียน 6 ปี
และการศึกษาระดับมัธยมศึกษา
2.การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ
ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา การใช้คำว่า "อุดมศึกษา" แทนคำว่า
"การศึกษาระดับมหาวิทยาลัย" ก็เพื่อจะให้ครอบคลุมการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญา
ที่เรียนภายหลังที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว ทั้งนี้การศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปีโดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่าง
เข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับหลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง การศึกษาภาคบังคับนั้นต่างจากการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่บังคับให้ประชาชนต้องเข้าเรียนแต่เป็นสิทธิ์ของคนไทย
ส่วนการศึกษาภาคบังคับเป็นการบังคับให้เข้าเรียนถือเป็นหน้าที่ของพลเมืองตามมาตรา 69
ของรัฐธรรมนูญ
การจัดการศึกษาในระบบ ได้แก่
- การศึกษาภาคบังคับมีกำหนด 9 ปี เด็กอายุ 6 ขวบต้องเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงอายุ
15 ขวบ เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาภาคบังคับ
หลักเกณฑ์การนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
- การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานให้จัดในสถานศึกษา 3 ประเภทคือ 1.สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 2.โรงเรียน 3. ศูนย์การเรียน
- การอาชีวศึกษาให้จัดในสถานศึกษาของรัฐและเอกชนรวมทั้งสถานประกอบการและองค์กรหรือหน่วยงานอื่น
ตามกฎหมายว่าด้วยอาชีวศึกษา
- กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ
อาจจัดการศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการและความชำนาญของหน่วยงาน โดยคำนึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติ
ทั้งนี้ ตามทหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
8. สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลเป็นอย่างไร
ตอบ
สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญามีฐานะเป็นนิติบุคคล
สามารถดำเนินกิจการได้โดยอิสระ สามารถพัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่เป็นของตน มีความคล่องตัวมีเสรีภาพทางวิชาการและอยู่ภายใต้การกากับดูแลของสภาสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้นๆยกเว้นสถานศึกษาเฉพาะทาง
ให้สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล
มีอำนาจในการปกครองดูแล บำรุง รักษา ใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษาทั้งที่เป็นที่ราชพัสดุ
ตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุ และที่เป็นทรัพย์สินอื่นรวมทั้งจัดหารายได้จากบริการของสถานศึกษา
และเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ไม่ขัดหรือแย้งกับนโยบายวัตถุประสงค์และภารกิจหลักของสถานศึกษา
ให้สถานศึกษาเอกชน เป็นนิติบุคคลและมีคณะกรรมการบริหาร
ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ผู้รับใบอนุญาต ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนองค์กรชุมชน
ผู้แทนครู ผู้แทนศิษย์เก่า และผู้ทรงคุณวุฒิ จานวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา
การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ วาระการดารงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามในกฎกระทรวง
9. แนวทางการจัดการศึกษามีหลักยึดอะไรบ้าง
ตอบ แนวการจัดการศึกษา (มาตรา 22-25) แนวการจัดการศึกษาเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา
ซึ่งถือว่าหลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้ มีสาระสำคัญดังนี้
1. ยึดหลักว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ให้ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
และต้องให้แต่ละคนสามารถพัฒนาตามความถนัด ความสนใจและเต็มศักยภาพของเขา
2. เนื้อหาสาระของการศึกษาทุกระบบทุกรูปแบบ ต้องเน้นความรู้คู่คุณธรรมและกระบวนการเรียนรู้
โดยบูรณาการ (ผสมผสาน) ตามความเหมาะสมของระดับการศึกษา
3. เนื้อหาสาระของวิชาความรู้ที่ต้องไปกำหนดหลักสูตรและจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยเรื่องต่างๆต่อไปนี้
- ความรู้เกี่ยวกับตนเอง
และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
- ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์
และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
- ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดารงชีวิตอย่างมีความสุข
4. การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดาเนินการดังนี้
- จัดเนื้อหาและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
- ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
- จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
ฝึกการปฏิบัติ ให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
- จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆอย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน
รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ทุกวิชา
- ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม
สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียน
- จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นทุกเวลาทุกสถานที่
มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
5. รัฐต้องส่งเสริมการดาเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบได้แก่
ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศูนย์การกีฬา และนันทนาการ แหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ
6. ให้สถานศึกษาจัดประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ
การสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวน การเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา
7. ให้สถานศึกษาใช้วิธีการหลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อ และให้นาผลการประเมินผู้เรียนในระดับก่อนนั้นมาพิจารณามาประกอบด้วย
8. หลักสูตรแกนกลางของการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดโดยคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและให้สถานศึกษาจัดทาสาระของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหา
ในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว
ชุมชน สังคมและประเทศชาติ
9. หลักสูตรการศึกษาระดับต่างๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสาหรับบุคคลที่บกพร่องทางร่างกาย
คนพิการ และบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ ต้องมีลักษณะที่หลากหลาย ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ
มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ
10. สาระของหลักสูตร ที่เป็นวิชาการและวิชาชีพ มุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุล ทั้งด้านความรู้
ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม และหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา
มีความมุ่งหมายที่จะพัฒนาวิชาการ วิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม
11. ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น จัดกระบวนการเรียนรู้
เพื่อสร้างความเข็มแข็งให้ชุมชน จัดอบรม แสวงหาความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยากรต่าง
ๆ เพื่อพัฒนาชุมชน ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการรวมทั้งวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนสบการณ์พัฒนาระหว่างชุมชน
12. ให้สถานศึกษาต้องพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ระดับการศึกษา
10. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ทั้งรัฐและเอกชนจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
ตอบ
เห็นด้วยที่กำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษา ทั้งรัฐและเอกชนจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพตามที่กฎหมายกำหนด เพราะตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ.2546 มาตรา 43 กำหนดให้ “วิชาชีพครู” เป็นวิชาชีพควบคุม ผู้ที่ประสงค์จะประกอบวิชาชีพครูต้องมี “ใบอนุญาต ผู้ประสงค์ประกอบวิชาชีพครู” จึงจะเป็น “ครู” ได้ เช่นเดียวกับแพทย์ หรือวิศวกร ฯลฯ
หมายความว่า ใครที่ทำหน้าที่ครู และสอนหนังสือในสถานศึกษา
สถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
ต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการครู ครูอัตราจ้าง
พนักงานราชการ รวมทั้งครูชาวต่างประเทศ
ไม่บังคับบุคลากรทางการศึกษาที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
สถานศึกษาตามมาตรา 8 (3) ผู้บริหารระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษาและวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
11. มีวิธีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นของท่านได้อย่างบ้าง
ตอบ
1. ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
โดยอาจจัดเก็บภาษีเพื่อการศึกษาได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
(มาตรา 58)
2. ให้บุคคล ครอบครัว
ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยเป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
บริจาคทรัพย์สิน และทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษา และมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น
3. ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมทรัพยากรต่างๆ โดยการสนับสนุน การอุดหนุนและใช้มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีตามความเหมาะสมและความจำเป็น
ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
4. ให้สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล
มีอำนาจในการปกครองดูแล บำรุง รักษา ใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษาทั้งที่เป็นที่ราชพัสดุ
ตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุ และที่เป็นทรัพย์สินอื่นรวมทั้งจัดหารายได้จากบริการของสถานศึกษา
และเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ไม่ขัดหรือแย้งกับนโยบายวัตถุประสงค์และภารกิจหลักของสถานศึกษา
12. การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีวิธีการพัฒนาได้อย่างไร
ตอบ กำหนดว่าไม่เกิน 3-5 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัติการศึกษาใช้บังคับจะต้องดำเนินการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเปลี่ยนแปลง
ระบบเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้แล้วเสร็จ ซึ่งมีรายละเอียดพอที่จะสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
1. จัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง
วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคมและการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สาหรับการศึกษาในระบบ
การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัยการทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมตามความจำเป็น
2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตารา หนังสือทางวิชาการ
สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต
จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาทั้งนี้
โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
3. ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต
และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
4. ให้ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้
เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอ ที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
5. ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
6. ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐ
ค่าสัมปทาน และผลกำไรที่ได้จากการดาเนินกิจการด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ
ภาคเอกชน และองค์กรประชาชนรวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อพัฒนาคนและสังคม
7. จัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้เป็นหน่วยงานกลางทาหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย
แผน ส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น