แบบฝึกหัดทบทวน 2
คำสั่ง ให้นักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้วจงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1.ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกและมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ ผู้ที่ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ คณะราษฎร์ เหตุผลผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกแห่งราชอาณาจักรสยาม คณะราษฎร์ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า “บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบาย สามารถนำประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาสให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ได้มีส่วนร่วมตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลง ประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า”
ส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา คือ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม
มาตรา 14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน
ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย
การตั้งสมาคม การอาชีพ
2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดไว้อย่างไร อธิบาย
ตอบ สรุปเกี่ยวกับแนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษารัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 บุคคลมีความเสมอภาคและเสรีภาพในการได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งรัฐจะต้องส่งเสริม สนับสนุนและจัดการศึกษาภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ เพื่อให้บุคคลมีร่างกายแข็งแรง มีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย สุขภาพอนามัยดีและสามารถไปประกอบอาชีพได้ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์การศึกษา
3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521
ตอบ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 คือ บุคคลมีสิทธิในการได้รับการศึกษา ซึ่งรัฐจะต้องส่งเสริม และบำรุงการศึกษา มีการสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนและค่าศึกษาเล่าเรียน
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2517 คือ บุคคลมีสิทธิในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน/ขั้นบังคับตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้บุคคลเป็นพลเมืองดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีความสามารถในการประกอบอาชีพและมีใจเป็นประชาธิปไตย ซึ่งรัฐส่งเสริม บำรุงการศึกษา ให้ความเสมอภาคแก่บุคลในท้องถิ่น โดยรัฐให้การช่วยเหลือผู้ยากไร้ สนับสนุนการวิจัยศิลปะ เทคโนโลยี สถิติเพื่อการพัฒนาประเทศ
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521 คือ รัฐมีการส่งเสริมและบำรุงการศึกษา การฝึกอาชีพและส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทุกระดับ รัฐจัดการศึกษาภาคบังคับโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ส่วนในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษารัฐจัดให้มีทุนและปัจจัยต่างๆให้ผู้ยากไร้ มีการสนับสนุนการวิจัยในศิลปะ วิทยาการต่างๆ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศ อีกทั้งสร้างเยาวชนให้มีความสมบูรณ์ทางร่างกายและจิตใจ คุณธรรม จริยธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของรัฐ
ดังนั้นแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนกัน ในเรื่องของรัฐจะต้องส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รวมไปถึงรัฐพึงสนับสนุนการวิจัยในศิลปะและวิทยาการต่างๆ
4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช2492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ ประเด็นที่ 1 คือ รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490
รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475 คือ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ
รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2489 คือ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การชุมนุมสาธารณะ การตั้งสมาคม การตั้งคณะกรรมการพรรคการเมือง การอาชีพ ทั้งนี้ภายใต้บังคับแห่งบทกฎหมาย
รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2490 คือ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา การศึกษาอบรม การชุมนุมสาธารณะ การตั้งสมาคม การอาชีพ ทั้งนี้ภายใต้บังคับแห่งตัวบทกฎหมาย
เราสามารถสรุปได้ว่าบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475-2490 ในลักษณะที่เหมือนกันคือ รัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีชื่อว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ต่อมาได้เปลี่ยนคาว่าราชอาณาจักรสยามเป็นราชอาณาจักรไทย จนถึงปัจจุบัน และกล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่มากหนัก ได้กำหนดสิทธิและเสรีภาพ การพูด การเขียน การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ
ประเด็นที่ 2 คือ รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช2492-2517
รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2492 คือ บุคคลมีสิทธิในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน/ขั้นบังคับตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้บุคคลเป็นพลเมืองดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีความสามารถในการประกอบอาชีพและมีใจเป็นประชาธิปไตย ซึ่งรัฐส่งเสริม บำรุงการศึกษา ให้ความเสมอภาคแก่บุคลในท้องถิ่น โดยรัฐให้การช่วยเหลือผู้ยากไร้ สนับสนุนการวิจัยศิลปะ เทคโนโลยี สถิติเพื่อการพัฒนาประเทศ
รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2511 คือ บุคคลมีสิทธิในการได้รับการศึกษา ซึ่งรัฐจะต้องส่งเสริม และบำรุงการศึกษา มีการสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนและค่าศึกษาเล่าเรียน
รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2517 คือ บุคคลมีสิทธิในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน/ขั้นบังคับตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้บุคคลเป็นพลเมืองดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีความสามารถในการประกอบอาชีพและมีใจเป็นประชาธิปไตย ซึ่งรัฐส่งเสริม บำรุงการศึกษา ให้ความเสมอภาคแก่บุคลในท้องถิ่นโดยรัฐให้การช่วยเหลือผู้ยากไร้ สนับสนุนการวิจัยศิลปะ เทคโนโลยี สถิติเพื่อการพัฒนาประเทศ
เราสามารถสรุปได้ว่าบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492-2517 ในลักษณะที่เหมือนกัน คือ ชาวไทยมีสิทธิและเสรีภาพในการศึกษา สถานศึกษาของรัฐและเทศบาลให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคล บุคคลย่อมได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษาหรือการศึกษาขั้นมูลฐานตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด รัฐจะต้องกำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐ จัดการศึกษาเพื่อพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรง มีความรู้ประกอบอาชีพและมีจิตใจเป็นประชาธิปไตย รัฐส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมการจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐ จัดอบรมชั้นประถมศึกษา ของรัฐและเทศบาลโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน
5. รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534
รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521 คือ รัฐมีการส่งเสริมและบำรุงการศึกษา การฝึกอาชีพและส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทุกระดับ รัฐจัดการศึกษาภาคบังคับโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ส่วนในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษารัฐจัดให้มีทุนและปัจจัยต่างๆให้ผู้ยากไร้ มีการสนับสนุนการวิจัยในศิลปะ วิทยาการต่างๆ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศ อีกทั้งสร้างเยาวชนให้มีความสมบูรณ์ทางร่างกายและจิตใจ คุณธรรม จริยธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของรัฐ
รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2534 คือ รัฐส่งเสริมและบำรุงการศึกษา การฝึกอาชีพและส่งเสริมให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทุกระดับ การจัดการศึกษาภาคบังคับโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐช่วยเหลือในเรื่องทุน การฝึกอาชีพให้แก่ผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา มีการสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปะ ส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อนำมาพัฒนาประเทศ ส่งเสริมและพัฒนาความเสมอภาคของชายและหญิง ให้เด็กเป็นเยาวชนที่สมบูรณ์ทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญาและคุณธรรม อีกทั้งยังส่งเสริมให้ประชาชนเลื่อมใสศรัทธาในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
เราสามารถสรุปได้ว่าบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2521- 2534 ได้ว่ามีความเหมือนกันคือ บุคคลย่อมมีเสรีภาพและมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาอบรม ไม่เป็นปรปักษ์และไม่ขัดต่อกฎหมายการศึกษา รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม ระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐและสถานศึกษาทั้งปวงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐกำหนดให้สถานศึกษาดาเนินการตามกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด การศึกษาภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐและท้องถิ่น จัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่างๆในการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพ รัฐสนับสนุนการวิจัยในศิลปะและวิทยาการต่างๆ และส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศ รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมเยาวชนของชาติ ให้เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจและสติ ปัญญา คุณธรรม และจริยธรรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและเพื่อความมั่นคงของรัฐ
ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550
รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540 คือ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การเรียนการสอน การวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัยแต่ต้องไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี บุคคลมีสิทธิในการได้รับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปีโดยรัฐไม่เก็บค่าใช้จ่าย รัฐต้องคุ้มครอง พัฒนาเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชายและสร้างความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว รัฐต้องสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไรและผู้พิการให้มีชีวิตที่ดี รัฐต้องให้เอกชนเข้ามาจัดการศึกษา ปรับปรุงสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ปลูกจิตสำนึกกับระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งสนับสนุนการค้นคว้าวิจัย วิทยาการต่างๆ พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ
รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2550 คือ บุคคลมีโอกาสได้รับการศึกษาไม่น้อยกว่า12 ปีโดยรัฐไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ขาดโอกาสทางการศึกษาหรือผู้ยากไร้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ มีการจัดองค์กรวิชาชีพ การศึกษาทางเลือกจากรัฐ
การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับและทุกรูปแบบต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ มีการพัฒนาครูและปลูกฝังผู้เรียนให้มีจิตสำนึกความเป็นไทย มีระเบียบวินัย และยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาวิจัยแขนงต่างๆ อีกทั้งยังส่งเสริม สนับสนุนความสามัคคี ปลูกจิตสำนึกและเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรมของชาติ
เราสามารถสรุปได้ว่าบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540- 2550 ในลักษณะที่เหมือนกันคือ รัฐจัดการศึกษาให้กับบุคคลมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี และจะต้องจัดอย่างทั่วถึงอย่างมีคุณภาพ ไม่เก็บค่าใช้จ่าย รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส รัฐจะต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชน จัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมและจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ รัฐส่งเสริมสนับสนุนการกระจายอำนาจ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชุมชนองค์กรต่างๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และรัฐส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสานึก และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ
6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
ตอบ เพื่อให้ผู้ทุกคนได้เข้าใจในเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญการศึกษาที่เป็นธรรมและทั่วถึง เพื่อให้เข้าใจถึงสิทธิและเสรีภาพที่จะได้รับการศึกษาที่บุคคลมีสิทธิเท่าเทียมกันในการได้รับการศึกษาโดยไม่แบ่งชั้นวรรณะ เป็นแนวทางในการรับการศึกษาจากรัฐในภาคบังคับและต่อยอดการศึกษา จนกลายเป็นบุคคลที่สมบูรณ์ทางจิตใจ ร่างกายและสติปัญญา และสามารถประกอบอาชีพต่างๆได้ อีกทั้งยังเป็นการกำหนดกรอบในการใช้ชีวิตของคนในสังคมว่าควรปฏิบัติตนในการรับการศึกษาอย่างไรเพื่อเป็นเยาวชน พลเมืองที่ดีเพื่อมาพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบ เพราะเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องจัดการศึกษาตามเงื่อนไขที่วางไว้ รัฐต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม รัฐต้องจัดการศึกษาภาคบังคับให้เข้ารับการศึกษาอบรมโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย โดยจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี รัฐจะต้องจัดอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ พร้อมทั้งจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติหรือเรียกชื่อว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติขึ้น ดังนั้นจึงถือได้ว่าหน้าที่ที่เกี่ยวกับการศึกษาที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นการบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐ หากบุคคลใดไม่ปฏิบัติตามที่รัฐกำหนดไว้ก็จะถูกลงโทษ
8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา หากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าจะเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ รัฐธรรมนูญที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนองค์กรทางศาสนา และเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้น ก็จะทำให้สามารถพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมกัน ทำให้สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานของรัฐและเกิดความปรองดองในการพัฒนาการศึกษาระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น
9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชนสังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
ตอบ บุคคลได้รับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย โดยรวมถึงผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นด้วย เพื่อให้บุคคลมีความสมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา คุณธรรมจริยธรรม รวมถึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถพึ่งพาตนเองได้เพราะว่ารัฐมีหน้าที่ในการจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง ซึ่งไม่ว่าบุคคลใดจะได้รับการศึกษาตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้
10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการประกาศใช้ ยกเลิกและแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายครั้งเพื่อให้เหมาะสมแก่ สภาวการณ์ของบ้านเมืองและกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้เหมาะสมแก่สภาวการณ์ของบ้านเมืองและกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสามารถพัฒนาการศึกษาของชาติ มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น