วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 2 ตอบคำถามจากบทเรียน


แบบฝึกหัด

คำสั่ง  หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมาย หากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ  เหตุผลที่มนุษย์ต้องมีกฎหมาย เพราะว่ากฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่กำหนดให้คนในสังคมต้องปฏิบัติตาม เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ อีกทั้งเพื่อควบคุมความประพฤติของสมาชิกให้ปฏิบัติอยู่ในกรอบเป็นไปในทำนองเดียวกันเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมและเพื่อให้เกิดความสงบสุขในการใช้ชีวิตในสังคม  ถ้าหากไม่มีกฎหมายแล้วมนุษย์ก็จะใช้ชีวิตอย่างไม่มีระเบียบแบบแผน เกิดความขัดแย้งในทุกๆเรื่อง มีการแก่งแย่งชิงดี มีการทะเลาะกัน ทำร้ายร่างกาย สิ่งเหล่านี้กลายเป็นสังคมที่ไม่มีความสงบสุข มนุษย์ก็จะกลายเป็นบุคคลป่าเถื่อน ไม่มีระเบียบวินัยและไม่เกรงกลัวในการทำผิดกฎหมาย

2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ  ดิฉันคิดว่าในสังคมในปัจจุบันนี้เป็นสังคมสมัยใหม่ ทุกอย่างเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้คนมีการติดต่อสื่อสารกันทั่วโลก มีเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกแต่ขณะเดียวกันก็มีสิ่งดึงดูดหรือสิ่งล่อแหลมอยู่มากมายเหมือนกัน หากมนุษย์ไม่มีกฎหมายก็จะทำให้มนุษย์ไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุขได้ เพราะมนุษย์ในสังคมจะขาดคุณธรรม ศีลธรรมและระเบียบวินัยในตนเอง ไม่รู้จักกฎเกณฑ์ต่างๆในสังคม  ทำให้มนุษย์ต้องแก่งแย่งชิงดี มีการเอารัดเอาเปรียบ ใช้กำลังเพื่อทำร้ายกันจนเกิดปัญหา กลายเป็นคนที่สังคมรังเกียจ และสุดท้ายก็จะทำให้มนุษย์ต้องใช้ชีวิตแบบไม่มีความสุข เพราะมนุษย์ไม่มีแบบแผนหรือแนวทางในการดำรงชีวิตที่ไปในทิศทางเดียวกันและกลายเป็นสังคมที่ไม่สามารถพัฒนาคนให้กลายเป็นคนดีมีคุณภาพได้

3. ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
. ความหมาย              . ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
. ที่มาของกฎหมาย    . ประเภทของกฎหมาย
ตอบ
ก.ความหมายของกฎหมาย
            กฎหมาย เป็นสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
            เป็นองค์ประกอบที่ประชาชนอยู่ร่วมกันในอาณาเขตเดียวกันและมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง กฎหมายมีลักษณะหรือองค์ประกอบ 3 ประการคือ
            1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด เช่น รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้ เช่น รัฐสภาตราพระราชบัญญัติ คณะรัฐมนตรีตราพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา เป็นต้น
            2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ เช่น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542   พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.. 2545   พระราชกำหนดบริหารราชการฉุกเฉิน พ.. 2548 เป็นต้น
            3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ใช้บังคับกับผู้ที่มีเงินได้ แต่ไม่บังคับเด็กที่ยังไม่มีเงินได้ เป็นต้น
            4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้และสภาพบังคับในทางอาญา โทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น รอลงอาญา ปรับจำคุก กักขัง ริบทรัพย์ แต่หากเป็นคดีแพ่ง ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
. ที่มาของกฎหมาย  
            1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร เช่น กฎหมายประมวลรัษฎากร รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ซึ่งผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
            2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย เช่น แพทย์รักษาคนไข้ ผ่าตัดขาแขน โดยความยินยอมของคนไข้ ย่อมถือว่าไม่มีความผิดเพราะเป็นจารีตประเพณีที่ปฏิบัติต่อกันมา ปฏิบัติโดยชอบตามกติกาหรือเกณฑ์หรือจรรยาบรรณที่กำหนดจึงไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย
            3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆศาสนา สอนให้เป็นคนดี เช่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามผิดลูกเมีย ห้ามทาร้ายผู้อื่นเป็นต้น กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
            4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลังๆ
            5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายว่า สมควรหรือไม่ เช่น กฎหมายลักษณะอาญาประกาศใช้ใหม่ๆบัญญัติว่าการถืออาวุธในถนนหลวงไม่มีความผิดถ้าไม่มีกระสุนต่อมาพระบิดากฎหมายได้ทรงเขียนอธิบายเหตุผลว่าการถืออาวุธในถนนหลวงควรมีข้อห้ามหรือเป็นความผิดจึงได้แก้ไขกฎหมายดังกล่าว
. ประเภทของกฎหมาย
            ได้มีนักวิชาการแบ่งประเภทของกฎหมายไว้หลากหลาย  ซึ่งแบ่งโดยแหล่งกำเนิดได้เป็นกลุ่ม 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
กฎหมายภายใน เป็นหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น
             1.1   แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร
             1.2  แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง
             1.3   แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
             1.4   แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
2.  กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ แบ่งตามลักษณะของฐานะความสัมพันธ์
            2.1   กฎหมายประเภทแผนกคดีเมือง ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ
            2.2   กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐหนึ่งกับบุคคลในอีกรัฐหนึ่ง
            2.3   กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยข้อตกลงระหว่างรัฐในการร่วมมืออย่างถ้อยทีถ้อยปฏิบัติในการปราบปรามอาชญาระหว่างประเทศและส่งตัวผู้ร้ายข้ามให้แก่กัน
            ซึ่งการแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยมีดังนี้
. กฎหมายภายใน 
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
            1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร ยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลักโดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายต่างๆ เป็นต้น ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาหรือออกโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อาศัยอำนาจจากพระราชบัญญัติ เช่น เทศบัญญัติ
            1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
            2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18 วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน
            2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง ได้บัญญัติไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายบัญญัติไว้ เช่น การกำหนดให้เป็นโมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชาระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหายหรือการที่กฎหมายบังคับเพื่อความเป็นธรรม
3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
            3.1 กฎหมายสารบัญญัติ กฎหมายกำหนดเป็นองค์ประกอบแห่งความผิดหรือเป็นสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความผิดตามบทกฎหมาย และกำหนดความร้ายแรงแห่งโทษจึงเป็นกฎหมายสารบัญญัติ เช่นตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาและในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชเกือบทุกมาตรา
            3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดตั้งแต่อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐในการดำเนินคดีทางอาญา การร้องทุกข์ การกล่าวโทษว่ามีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น การสอบสวนคดีโดยเจ้าพนักงาน การฟ้องร้องคดีต่อศาล การพิจารณาคดีและการพิจารณาคดีในศาล การลงโทษแก่ผู้กระทำผิดสำหรับคดีแพ่ง
4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
            4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน รัฐเป็นผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย คือ กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดระเบียบแบบแผนการใช้อำนาจ อธิปไตย กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน กฎหมายปกครอง กำหนดการแบ่งส่วนราชการเพื่อบริหารประเทศและการบริการสาธารณะด้านต่างๆแก่ประชาชน กฎหมายอาญาเพื่อคุ้มครองความสงบในสังคม รัฐต้องลงโทษผู้ฝ่าฝืนและกระทำผิด
            4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด เปิดโอกาสให้ประชาชนสร้างความสัมพันธ์เชิงกฎหมายระหว่างกันในรูปของการทำนิติกรรมสัญญา มีผลต่อคู่กรณีให้มีกฎหมายคุ้มครองทั้ง 2 ฝ่ายมีผลผูกพัน
. กฎหมายภายนอก 
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน ในฐานะที่รัฐเป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งมีเกณฑ์กำหนดกล่าวคือ
            1) ประชาชนรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน ปึกแผ่น เรียกว่า พลเมือง
            2) ต้องมีดินแดนหรืออาณาเขตที่แน่นอน
            3) มีการปกครองเป็นระเบียบแบบแผน
            4) เป็นเอกราช
            5) มีอธิปไตย เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา ข้อตกลงการค้าโลก กฎหมายที่เป็นจารีต ประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมานาน รัฐทุกรัฐต่างเห็นชอบ เช่น หลักการแต่งตั้งเอกอัครราชทูต เอกสิทธิในทางการทูต
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย เป็นการบังคับความสัมพันธ์ของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในรัฐอื่นๆ
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้ เช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน

4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ตอบ    เมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมใหญ่ ดิฉันเชื่อแน่ว่าทุกคนล้วนมีความแตกต่างกันในหลายๆด้าน ได้แก่ความแตกต่างทางสัญชาติ ความแตกต่างทางศาสนา ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและที่สำคัญคือ ความแตกต่างทางความคิด แต่ทุกคนต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน มีการติดต่อสื่อสารกัน มีการอาศัยพึ่งพากันและทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน ซึ่งในการใช้ชีวิตกันนี้ดิฉันคิดว่าบางคนมีความรู้ ความคิดเห็นและจิตใจที่แตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งและปัญหาในสังคม ทำให้สังคมขาดกฎระเบียบวินัย เกิดความขัดแย้งและเกิดความเสียหายในหลายๆสิ่ง ฉะนั้นแล้วจึงต้องมีการสร้างกฎหมายขึ้นมาเพื่อที่จะใช้บังคับคนในสังคม ควบคุมความประพฤติของสมาชิกให้ปฏิบัติอยู่ในกรอบเป็นไปในทำนองเดียวกัน และรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมไว้และทำให้สังคมเกิดความสงบสุขขึ้นได้ กฎหมายยังเป็นเครื่องเตือนใจไม่ให้คนประพฤติในสิ่งที่ถูกห้ามและผิดกฎหมายด้วย กฎหมายยังเป็นเครื่องมือในการสร้างความสงบสุขและความเป็นธรรมให้แก่บุคคลในสังคม ให้มีสิทธิและหน้าที่โดยเท่าเทียมกัน จากเหตุผลที่กล่าวมาในข้างต้นได้แสดงให้เห็นแล้วว่าทำไมทุกประเทศจึงต้องมีกฎหมาย

5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ   สภาพบังคับในทางกฎหมาย คือทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ถ้าบุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ก็จะถูกลงโทษหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ผู้ที่ฝ่าฝืนเกิดความเข็ดหลาบหรือหลาบจำ ไม่กล้ากระทำการฝ่าฝืนกฎหมายอีก อีกทั้งยังหมายถึงการบังคับให้กระทำการ งดเว้นกระทำการหรือบังคับให้ส่งมอบทรัพย์สินด้วย

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ     สภาพบังคับกฎหมายในอาญา เป็นโทษที่บุคคลที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ โทษที่จะลงแก่ตัวผู้กระทำผิดถึงโทษประหารชีวิต  จำคุก กักขัง  ปรับ  ริบทรัพย์สินเป็นต้น
            ส่วนสภาพบังคับในทางแพ่งนั้นไม่มีโทษ  เป็นเพียงการถูกบังคับให้ชำระหนี้หรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทน สภาพบังคับกฎหมายในทางแพ่ง ถ้าผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าเสียหายหรือชาระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ เช่น บังคับใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ย บังคับให้ผู้ขายส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขาย เป็นต้น

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ      ระบบของกฎหมายบางตาราใช้ว่า “สกุลกฎหมาย” ที่ใช้อยู่ในประเทศต่างๆในโลกนี้พอที่จะแบ่งเป็น 2 ระบบดังนี้
            1. ระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรป เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คำพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมาย เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคำพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของนักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่ากฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้เช่น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศตะวันออก เช่น ไทย ญี่ปุ่น
            2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษ มีรากเหง้ามาจากศักดินา เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เอาจารีตประเพณีและคำพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ

8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ     นักวิชาการแบ่งประเภทของกฎหมายไว้หลากหลาย การแบ่งประเภทกฎหมายที่จะนำไปใช้นั้นมีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้
. กฎหมายภายใน
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
            1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก
โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายต่างๆ              พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา
            1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
            2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18 วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน เป็นต้น
            2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง เช่น การกำหนดให้เป็นโมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชาระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหายหรือการที่กฎหมายบังคับให้ทาอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม เป็นต้น
3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
            3.1 กฎหมายสารบัญญัติ เช่น ตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาและในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชเกือบทุกมาตรา
            3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดตั้งแต่อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐในการดำเนินคดีทางอาญา การร้องทุกข์ การกล่าวโทษว่ามีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น การสอบสวนคดีโดยเจ้าพนักงาน การฟ้องร้องคดีต่อศาล การพิจารณาคดีและการพิจารณาคดีในศาล การลงโทษแก่ผู้กระทำผิดสำหรับคดีแพ่ง
4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
            4.1 กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดระเบียบแบบแผนการใช้อำนาจ อธิปไตย กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน กฎหมายปกครอง กำหนดการแบ่งส่วนราชการเพื่อบริหารประเทศและการบริการสาธารณะด้านต่างๆแก่ประชาชน กฎหมายอาญาเพื่อคุ้มครองความสงบในสังคม รัฐต้องลงโทษผู้ฝ่าฝืนและกระทำผิด
            4.2 กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด เปิดโอกาสให้ประชาชนสร้างความสัมพันธ์เชิงกฎหมายระหว่างกันในรูปของการทำนิติกรรมสัญญา มีผลต่อคู่กรณีให้มีกฎหมายคุ้มครองทั้ง 2  ฝ่ายมีผลผูกพัน
. กฎหมายภายนอก
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง มีเกณฑ์กำหนดคือ
            1) ประชาชนรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน ปึกแผ่น เรียกว่า พลเมือง
            2) ต้องมีดินแดนหรืออาณาเขตที่แน่นอน
            3) มีการปกครองเป็นระเบียบแบบแผน
            4) เป็นเอกราช
            5) มีอธิปไตย เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา ข้อตกลงการค้าโลก กฎหมายที่เป็นจารีตประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมานาน รัฐทุกรัฐต่างเห็นชอบ เช่น หลักการแต่งตั้งเอกอัครราชทูต เอกสิทธิในทางการทูต
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย เป็นการบังคับความสัมพันธ์ของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในรัฐอื่นๆ
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน

9. ท่านเข้าใจถึงคาว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ    ศักดิ์ของกฎหมาย”  เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายใช้เหตุผลที่ว่า
            (1) การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน
            (2) การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลาและทันต่อความต้องการและความจาเป็นของสังคม
            (3) ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น
การจัดลำดับความสำคัญตามศักดิ์ของกฎหมาย (Hierarchy of laws) พอที่จะสรุปได้ดังนี้
            1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายหลักที่ให้หลักประกันแก่ประชาชน หากมีกฎหมายใดออกมาขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญมิได้ กฎหมายฉบับนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทที่ยึดหลักในการปกครองและบริหารประเทศ ตอบสนองและสอดคล้องนโยบายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
            2. พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติโดยความเห็นชอบของรัฐสภาที่เป็นตัวแทนของประชาชนและพระมหากษัตริย์ได้ลงพระปรมาภิไธยใช้บังคับเป็นกฎหมาย ได้แก่ พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำยินยอมของรัฐสภา เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญรองลงมาจากรัฐธรรมนูญ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายที่ดิน ประมวลกฎหมายรัษฎากร เป็นต้น
            3. พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีเฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษ กรณีเร่งด่วนหรือภาวะฉุกเฉินในการรักษาความปลอดภัย ความมั่นคง หรือรักษาผลประโยชน์ของประเทศ เมื่อตราแล้วจะต้องนำเสนอต่อรัฐสภาภายในระยะเวลาอันสั้น (2 หรือ 3 วัน) ถ้าสภาอนุมัติก็กลายสภาพเป็นกฎหมายเสมือนพระราชบัญญัติ
            4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ เช่นพระราชบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ได้มอบอำนาจให้พระมหากษัตริย์ทรงออกกฎหมายในรูปพระบรมราชโอการได้ แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับ  ก่อนๆให้พระราชอำนาจไว้  ใช้ในยามที่มีสถานะสงครามหรือในภาวะคับขัน อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ และการใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภาอาจขัดข้องหรือไม่เหมาะสมกับสถานการณ์
            5. พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีหรือเป็นกฎหมายอื่นที่ฝ่ายบริหารได้ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย และพระราชกฤษฎีกาจึงมีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด และประกาศพระบรมราชโองการและจะขัดกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าไม่ได้ เช่น พระราชกฤษฎีกาเปิดหรือปิดสมัยประชุมสภา พระราชกฤษฎีกายุบสภา มีความสำคัญมากกว่าพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
            6. กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดเป็นผู้ออก เพื่อให้การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายหลักในเรื่องนั้นๆ เป็นการออกกฎกระทรวงโดยฝ่ายบริหาร เช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกา ต่างกับพระราชกฤษฎีกาตรงที่ว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าสำคัญรองลงมา ก็จะออกเป็นกฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่ออกตามกฎหมายแม่บท นอกจากกฎกระทรวง
            7. ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้อำนาจองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจปกครองดูแล ให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในท้องถิ่นที่องค์กรนั้นบริหารรับผิดชอบ จึงให้อำนาจองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอานาจออกข้อบัญญัติจังหวัดเพื่อจัดเรียบสังคมดูแลทุกข์สุขของประชาชน มีผลใช้บังคับเฉพาะพื้นที่ในจังหวัดนั้นๆ จะบังคับนอกพื้นที่จังหวัดมิได้
            8. เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติเทศบาล การแบ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็น 3 ระดับคือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมืองและเทศบาลนคร ซึ่งอาศัยความหนาแน่นของประชากรตามที่พระราชบัญญัติกำหนด
            9. ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นกฎหมายที่มีลาดับที่ต่ำที่สุด ออกตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ที่จะปกครองดูแล และให้บริการสาธารณะแก่ตำบล เพื่อใช้ในการบริหารงานราชการในท้องถิ่นที่ของตำบลนั้น

10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศ
เป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ     ดิฉันคิดว่ารัฐบาลกระทำผิดกฎหมายเพราะว่าประชาชนแค่ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ จะไม่สร้างความรำคาญหรือสร้างความเสียหายแต่อย่างใด แต่รัฐบาลกลับใช้การทำร้ายประชาชนทั้งที่ประชาชนไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้คนที่ไปชุมนุมและสัญจรไปมาบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ดังนั้นดิฉันคิดว่าฝ่ายรัฐบาลกระทำผิดโดยการทำร้ายร่างกายประชาชนก่อน อาจจะทำให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บหรืออาจเสียชีวิตได้

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ     กฎหมายการศึกษา เป็นกฎ ระเบียบ ประกาศและคำสั่งต่างๆเกี่ยวกับการศึกษา และเป็นหัวใจของสำคัญของการพัฒนาคน ซึ่งครูและบุคลากรทางการศึกษาเสมือนวิศวกรในการสร้างคนให้เป็นไปตามความต้องการของคนในประเทศ และนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สุขต่อเยาวชนและประเทศชาติ
            ดังนั้นการที่ประเทศใดจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เป็นไปในแนวทางใดก็ตาม ถ้าทุกคนปฏิบัติตามกฎหมายที่ตั้งไว้ ก็ย่อมทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนมากกว่าการปล่อยให้เป็นไปตามวิถีการดำเนินชีวิตของคนตามปกติ

12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไป
ประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ     ดิฉันถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษา  เมื่อเราไปประกอบอาชีพครูก็จะมีผลกระทบต่อตัวเราเอง จะทำให้เราไม่รู้เกี่ยวกับกฎ ระเบียบ ประกาศและคำสั่งต่างๆเกี่ยวกับการศึกษา เพราะกฎหมายการศึกษามีความสำคัญกับการศึกษาโดยตรงและและบุคลาการทางการศึกษาทุกคน เป็นตัวช่วยจัดระบบ คุ้มครอง พัฒนาคุณภาพชีวิต และทำให้เรารับรู้สิทธิของเราในการที่จะเป็นครูในอนาคต ช่วยเตือนให้เราไม่ประพฤติหรือทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการเป็นครู


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น